มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Ubon Ratchathani University
 นักศึกษา    บุคลากร    ศิษย์เก่า   UBU English       |      




ทีม Smart Para Film ม.อุบลฯ ชนะเลิศ ผลิตภัณฑ์ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง


โพสต์โดย : ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร     วันที่ 6 ตุลาคม 2566 , 12:11:58     (อ่าน 928 ครั้ง)  



ทีม Smart Para Film ม.อุบลฯ ชนะเลิศ

ผลิตภัณฑ์ “ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง”

------------------------------

          ขอแสดงความยินดีกับ ทีม Smart Para Film ผลงานวิจัยร่วมระหว่างอาจารย์สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และอาจารย์สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 (ระดับประเทศ) ผลงานระดับ Idea to Prototype (I2P) การมีไอเดีย/แนวคิดธุรกิจเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราผลิตภัณฑ์ “ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง” รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร โครงการประกวดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด เพื่อเปิดโอกาสให้แก่นิสิต นักศึกษา เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบกิจการยาง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการยางพาราได้มีเวทีในการส่งผลงานคุณภาพเข้าร่วมการประกวดในอนาคตต่อไป เมื่อวันพุธที่ 27 กันยายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

           สำหรับทีม Smart Para Film ที่สร้างชื่อเสียงและผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างความภาคภูมิใจให้แก่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีครั้งนี้ จากผลิตภัณฑ์ “ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง” ซึ่งพัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี  นุ้ยหนู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  ประเสริฐศรี รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์  แสงสุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วีรเวทย์  อุทโธ อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยทีมอาจารย์ที่เข้าร่วมการแข่งขันแบ่งผลงานเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ผลงานระดับ Product to Global Market (P2GM) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราที่อยู่ในตลาดเพื่อเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด ผลงานระดับ Idea to Prototype (I2P) การมีไอเดีย/แนวคิดธุรกิจเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพารา และผลงานระดับ Design Contest (I2D) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุสานยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่ม

          ในการประกวดครั้งนี้ ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ระดับ Idea to Prototype (I2P) การมีไอเดีย/แนวคิดธุรกิจเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพารา 3 ผลงาน ได้แก่

          1. ทีม Smart Para Filmผลิตภัณฑ์ “ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง” พัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี  นุ้ยหนู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ  ประเสริฐศรี รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์  แสงสุวรรณ สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วีรเวทย์  อุทโธ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

          2. ทีม Smart Artificial breast Foamผลิตภัณฑ์ “หุ่นเต้านมเทียมจากโฟมยางพาราอัจฉริยะสำหรับฝึกนวดกระตุ้นเต้านมของแม่คลอดบุตร” พัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี  นุ้ยหนู สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ นายกรวิช  แก้วดี และ นายอนุพงษ์  รัฐิรมย์ บริษัทรับบิทเทค

          3. ทีม RPT Gen15ผลิตภัณฑ์ “ยางยืดออกกำลังกายจากยางพาราสำหรับผู้สูงอายุ” พัฒนาโดย นางสาวสุภาศิณี  อ่อนตา นางสาวสุนทรี  ต้นสิงห์ นายชานนท์  พรมวิหาร และนายวิชิต  แก้ววิเศษ ภายใต้การกำกับควบคุมการผลิตโดย รองศาสตราจารย์ชัยวุฒิ  วัดจัง อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและควบคุณการผลิตผลงานคุณภาพในการประกวดครั้งนี้  

--------------------------------------

ทิพย์วรรณ  เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ข่าว/ภาพ สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี   ม.อุบลฯ




SDG Hashtag : #SDG1 #SDG4 #SDG8 #SDG9 #SDG17